|
|
|
ราษฎรชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ปลูก ข้าว,ข้าวโพด,ยางพารา,กล้วย และมันสำปะหลัง
การประมง อาศัยแรงงานครัวเรือนเป็นหลัก สำหรับแรงงาน
จากภาคเกษตรกรรมบางส่วนมีการออกไปทำงานรับจ้างต่าง
จังหวัดนอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรแล้วอาชีพรองลงมา ได้แก่ การค้าขาย และหาของป่า |
|
|
|
|
|
พื้นที่ทางกายภาพในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นภูเขา
ป่าไม้ และมีที่ราบบางส่วน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตป่าสงวน |
|
|
|
|
|
|
|
ตำบลเวียงมอก มี 3 ฤดู ดังนี้ |
|
ฤดูร้อน |
ระหว่างเดือน มีนาคม - พฤษภาคม |
|
ฤดูฝน |
ระหว่างเดือน มิถุนายน - ตุลาคม |
|
ฤดูหนาว |
ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประชาชนตำบลเวียงมอกส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ |
|
วัด |
จำนวน |
8 |
แห่ง |
|
สำนักสงฆ์ |
จำนวน |
7 |
แห่ง |
|
|
|
ขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรม |
|
|
 |
|
|
|
ประเพณี |
|
ประเพณีเพ็ญเดือน 4 กินข้าวจี่ข้าวหลาม เดือนมกราคม |
|
ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน |
|
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหอรบ เดือนเมษายน |
|
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดท่าเวียง เดือนพฤษภาคม |
|
ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม |
|
|
|
ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก เดือนกันยายน-ตุลาคม |
|
ประเพณีออกพรรษา เดือนตุลาคม |
|
ประเพณียี่เป็งหรือประเพณีลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ประชาชนในเขตเทศบาลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำจักสารตะกร้า การถนอมอาหารจากผลิตภัณฑ์ปลา เช่น ปลาป่น ปลาส้ม ปลาย่าง เป็นต้น และวิธีการจับปลาธรรมชาติ |
ภาษาถิ่น |
ส่วนมากพูดคำเมือง (ภาษาเหนือ) |
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก |
สินค้าที่ขึ้นชื่อของตำบลเวียงมอก คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา ซึ่งเป็นสินค้าของกลุ่มอาชีพของบ้านท่าเกวียน หมู่ที่ 7 นอกจากนี้ยังมีสินค้าจักสารจากกลุ่มแม่บ้าน บ้านเด่นไม้ซุง หมู่ที่ 14 อีกด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
จำนวน |
8 |
แห่ง |
|
โรงเรียนระดับประถมศึกษา |
จำนวน |
6 |
แห่ง |
|
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา |
จำนวน |
3 |
แห่ง |
|
|
|
|
|
 |
|
|
ในเขตตำบลเวียงมอกมีโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข |
|
|
จำนวน |
5 |
แห่ง |
|
อสม |
จำนวน |
262 |
คน |
|
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เส้นทางการสัญจรภายในตำบลเวียงมอกประกอบด้วยถนน
จำนวน 221 สาย โดยแยกประเภทได้ดังนี้ |
|
ถนนลูกรัง |
จำนวน |
75 |
สาย |
|
ถนนลาดยาง |
จำนวน |
32 |
สาย |
|
ถนนคอนกรีต |
จำนวน |
114 |
สาย |
|
|
|
ตำบลเวียงมอก มีเส้นทางคมนาคมสายหลัก คือ เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1048 (สายอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง - อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย) เป็นถนนลาดยาง มีสภาพชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อ ระยะจากปากทางแยกที่ว่าการอำเภอเถิน ถึงจุดเชื่อมต่ออำเภอทุ่งเสลี่ยม มีระยะทาง 75 กิโลเมตร |
ตำบลเวียงมอก มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ได้เพียงเส้นทางเดียว คือ ทางบก และในเขตพื้นที่ของตำบล ยังไม่มีสถานีขนส่งประจำตำบล แต่เนื่องจากเป็นถนนสายหลักที่ใช้สัญจรไป – มา ระหว่างอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย จึงทำให้เป็นเส้นทางคมนาคมที่มีรถโดยสารประจำทาง และรถบัสทัวร์ที่ขนส่งนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติใช้เป็นทางลัดในการเดินทางข้ามระหว่างจังหวัด จึงทำให้ในพื้นที่มีรถโดยสารประจำทาง และรถบัสทัวร์เป็นระยะๆ |
|
|
|
|